หลังวางแผนว่าจะออกทริปเดินทางไกลขึ้น จ.น่าน ก็ต้องเช็ครถให้พร้อมก่อนทั้งระบบ เพราะความผิดพลาดระหว่างทริปคงไม่มีใครอยากให้เกิด หนึ่งในส่วนประกอบที่ผมให้ความสำคัญมากเป็นอันดับต้นๆก็คือ “ผ้าเบรค” ซึ่งก็โชคดีที่ถอดมาเช็คก่อนเพราะว่าตอนนี้อยู่ในสภาพที่แทบจะเหลือเเต่เหล็กเเล้ว จึงเป็นโอกาสที่ดีที่จะลองผ้าเบรคแบรนด์ดังฝั่งยุโรป SBS และนี่ก็เป็นครั้งเเรกจริงๆ กับการใช้ผ้าเบรคเกรด SINTER ผมก็อยากรู้เหมือนกันเมื่อเทียบกับผ้าเบรคเนื้อออแกนิคจะต่างกันขนาดไหน
หมดพอดีอยากเลือกที่ดีกว่าเดิม
หลังจากที่ใช้ผ้าเบรคเดิมติดรถมาเเล้ว 24,000 กม. จนหมดเกลี้ยงตามภาพ โดยผ้าเบรคเดิมจะเป็นเนื้อที่เราต่างรู้ดีคือ เน้นนุ่มนวล ถนอมจาน เเต่สิ่งที่หลายคนต้องการมากกว่านั้นอาจยังไม่พอ อยากจะอัพเกรดให้ประสิทธิภาพมากกว่าเดิม บางคนเลือกเปลี่ยนทั้งระบบ ปั๊มบน ปั๊มล่าง หลายหมื่น เวลาจอดรถที่ไหนก็ไม่สบายใจกลัวหายอีก ดังนั้นวิธีง่ายๆแต่ได้ผลจริงคือการอัพเกรดผ้าเบรคครับ โดยสามารถเปลี่ยนทดแทนของเก่าได้เลยซึ่งจะช่วยประหยัดเงินลงไปมาก เเล้วก็เห็นผลชัดเจนซึ่งผมลองด้วยตัวเองเเล้วก็เห็นเลยว่าคุ้มค่าเงินที่จะเปลี่ยนเป็น SBS
ระดับของผ้าเบรค SBS
ผ้าเบรค SBS ถ้าให้แบ่งตามคลาส มีให้เลือกมากถึง 16 คลาส ใน 4 กลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น เทียบของเดิม ,เซรามิค ,ซินเทอร์ ,คาร์บอนด์ ประกอบไปด้วย
1.SBS Racing Brake pad เกรดแข่งเน้นๆพัฒนาร่วมกับนักเเข่ง WSBK , WSP เเละ MOTO2 เหมาะกับการใช้งานแบบแข่งขัน หรือ Track Day
2. SBS Street & Scooter เกรดรถถนนใช้งานทั้งมอเตอร์ไซค์ และ สกู๊ตเตอร์ ออกแบบมาโดยเฉพาะแตกต่างกันทัวร์ริ่ง แอดเวนเจอร์ โร้ด อยู่กลุ่มนี้
3.SBS American เป็นผ้าเบรคที่ออกแบบมารองรับการใช้ของกลุ่มรถแนวครุยศ์เซอร์ เช่น Harley Davidson , Indian , Buell
4.SBS Off Road ร่วมพัฒนาโดยนักแข่ง World MX GP เน้นการใช้งานได้สมบูรณ์แบบทุกสถาการณ์ ทั้งแห้ง เปียก ร้อน ทราย หรือ โคลน
ถ้าให้อธิบายแยกย่อยบอกเลยว่ายาวครับ เลยสรุปมาคร่าวๆคุณสมบัติตามรูปด้านล่าง…
ในที่นี่เราจะพูดถึงกลุ่ม Street เเละ Scooter ผ้าเบรค SBS เนื้อ Sinter เป็นผ้าเบรคที่เรียกว่า Upgrade ให้เหนือกว่าของเดิม ประสิทธิภาพเเตกต่างกันมาก ใส่ทดเเทนได้เลยกับปั๊มเบรคเดิมติดรถตามรุ่นที่เราเลือก สำหรับ Versys650 เบรคหน้าจะมีให้เลือกอยู่สองเกรดคือ SP เเละ HS ส่วนเบรคหลังจะเป็นเกรด Racing ในรหัส LS (ตอนนี้ผมยังใส่ของเดิมอยู่ใว้จะรีวิวในครั้งต่อไปครับ)
เลือกใช้เกรด HS ก็พอ
สำหรับผ้าเบรคหน้า SBS ผมเลือกเกรด HS ซึ่งเป็นรุ่นที่ออกเเบบมาสำหรับการใช้งานทั่วไปและจานเบรคเเบบเหล็กเเละสแตนเลสโดยเฉพาะ จนถึงการขับขี่ระดับไฮเพอฟอมานซ์ราคาคู่ละ 1,390 บาท ไม่ถึงกับต้องใช้ระดับ SP เนื้อระดับ EVO SINTER อัพเกรดขึ้นไปอีก ราคาก็ดีดตามไปด้วยคู่ละ 1,890 บาท ใช้ลงแข่งขันได้ในระดับนึงเลย ซึ่งจะทนความร้อนมากกว่า คุณภาพการใช้งานสม่ำเสมอเมื้อมีความร้อนสูง
ระดับ HS ที่เลือกนี้จะมีคุณสมบัติคือเป็นเนื้อ Sinter ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับจานเบรคที่เป็น สเตนเลส เเละ เหล็กโดยเฉพาะ แพดด้านหลังเป็นทองเเดงเน้นระบายความร้อน ป้องกันเบรคร้อนหรือเฟด(เบรคไม่อยู่ขณะใช้งานไปนานๆ) ยึดเกาะด้วยเขี้ยวแหลมๆที่ปั๊มเข้าด้วยกัน เนื้อเท่าที่ที่สังเกตุด้วยสายตาคือหนาเเละผิวหยาบกว่าของเดิมอย่างเห็นได้ชัด เเอบคิดว่ามันจะเเข็งไปสำหรับจานเบรคเราหรือเปล่า ?
ซื้อมาคู่ละ 1,390 บาท จานคู่ใช้ 2 ชุดรวม 2,780 บาท เริ่มต้นเปลี่ยนเองง่ายๆ ได้เห็นผ้าเบรคเก่าที่ใช้มา 24,000 กม.หมดเกลี้ยงก็เลยเอามาเทียบกันให้ดู (ความหนาถ้าเทียบกับของเดิมจะรู้สึกได้เลยว่าหนาขึ้น โดยเฉพาะจากความรู้สึกเวลาบีบเบรคคือเเตะนิดเดียวตึงเเล้ว) เปลี่ยนเสร็จลองเข็นดูโอ้โหแน่นเลยครับเเอบคิดว่าเราใส่ผิดหรือเปล่า 55+
เเต่พอเอาไปวิ่งดูสักพักก็ฟรีได้ปกติ ซึ่งตรงนี้ไม่ต้องตกใจเหมือนผมนะครับผ้าเบรคก็มีระยะรันอินเล็กน้อยเหมือนกันเพื่อให้ร่องผ้าเบรคสนิทกับดิสค์เบรคเต็มที่จะทำให้ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ช่วงเเรกๆอย่าเพิ่งไปเบรคแรงๆเพราะดิสค์เบรคอาจเสียหายได้
เริ่มออกเดินทาง…!
ฟีลลิ่งจากการใช้งานผ้าเบรค SBS ออกเดินทางจาก ก.ท.ม. ตอนตี 3 ค่อนข้างจะทำเวลาเพราะเราขี่คนเดียว อีกทั้งเป้าหมายที่วางใว้ดูจาก Google คือ 9-10 ชม ถ้าออกตอนตี 3 ไม่พักเลยอย่างน้อยก็ 8 ชม. ประมาณ 11.00-12.00 ต้องถึงที่หมายเเน่นอน ความเร็วที่ใช้อยู่ประมาณ 130+ ตลอดทาง จอดคือเติมน้ำมัน เเล้วไปต่อเเบบนี้ยาวๆมีไปหลงที่ อช.ลำน้ำน่าน เสียเวลาต้องวกออกมาอีก 70 กม. สุดท้ายถึงที่พักคืนเเรก “ผาชู้” เวลาเกือบ 13.30 กินเวลา 10 ชั่วโมง เเช่กันจนท่อเดือดแดงจัด
ลองแล้วชอบนะ สังเกตุตลอดตั้งแต่เริ่มจนจบทริป…
จากการใช้งานขาไปนี้บอกเลยครับว่าเบรคมีจังหวะการจับจานที่นุ่มคล้ายเบรคเดิม เเต่จังหวะการจับหรือหยุดนั้นดีกว่ามากๆ การหยุดรถเร็วกว่า รถมีอาการดีเลย์หลังบีบเบรคให้รถหยุดน้อยกว่า เเละจับได้สนิทกว่ามาก แม้ว่าจะบรรทุกหนักเเละต้องใช้ประสิทธิภาพจากผ้าเบรคเป็นพิเศษ เดี๋ยวเรื่องราวการท่องเที่ยวใว้จะมาเล่าเต็มๆครั้งต่อไปครับเอาตัวอย่างไปก่อนนะ
อีกทั้งเรื่องความร้อนสะสมหรือการเฟดของผ้าเบรคนั้นเเทบไม่รู้สึก ยิ่งเป็นช่วงที่เข้าโซนเหนือซึ่งเป็นเส้นทางคดเคี้ยวบนเขา เราต้องเบรคทุกครั้งก่อนเข้าโค้ง ประกอบกับการขับขี่มาเป็นเวลานาน SBS SINTER ยังไม่มีอารเฟด จุดนี้ผมว่าเยี่ยมมาก ส่วนการสิ้นเปลือง ยังไม่รู้สึกว่าจะสึกหรอไปเยอะแต่อย่างใด
ส่วนดิสก์เบรคมีการสึกหรอที่เรียบเนียนไม่มีส่วนไหนที่กินจานหรือเป็นลอนคลื่น ทั้งหมดทั้งมวลเทียบกับฟีลลิ่งที่ได้รับราคานี้ผมว่าคุ้มกว่าการเปลี่ยนอย่างอื่นเต็มระบบ ล้มเลิกความคิดที่จะเปลี่ยนปั๊มไปเลยครับ ดีไปอีกจอดห้าง จอดที่ไหน ก็ไม่ต้องกังวลว่ากลับมาที่รถปั๊มเบรคที่ซื้อมาจะยังอยู่หรือเปล่า(กำ) ต่อจากนี้ก็คือลองใช้งานยาวๆ เทสเรื่องอายุการใช้งาน กับดิสค์เบรคต่อว่ามีผลเป็นยังไง
สำหรับเพื่อนๆที่สนใจผ้าเบรค SBS สามารถสอบถามได้ที่ร้านรายชื่อตามนี้
ร้านนานาอะไหล่ |
อัลฟ่า สแปร์ พาร์ท |
อาร์ เอส ซุปเปอร์ไบด์(ไทยแลนด์) |
109 Racing club |
บริษัท ฟาสธ์คอม เทค จำกัด |
ร้านเสรีวัฒน์ |
ร้านมอส อะไหล่ |
ร้านวิสิทธิ์มอเตอร์ |
ร้านยศอะไหล่แต่ง |
ประสูติ อะไหล่ |
ลิขิตเรชซิ่ง |
ที – ไซเคิล 52 เอ็นจิเนียริ่ง |
บริษัท เอ็มอาร์ดีไซเคิล จำกัด |
Gravity |
เอสเอสบี มอเตอร์ราด |
แม๊ดด็อก เรซซิ่ง ช็อป |
JP RIDER PATTAYA |
ร้านSPEED 800 |
ร้านเอ.เค.การาจ |
MT Superbike |
Burning Shop |
พิสตัน ซ๊อป |
บริษัท ส.อรุณ เซลส์เซอร์วิสเซ็นเตอร์ จำกัด |
ซ่อมรถมอเตอร์ไซค์(ช่างฮอน) |
ร้านบุญชูอะไหล่ |
ศูนย์บริการไพศาลยนต์ |
IQ MOTORPART |
ดับเบิ้ลยูพี โปรช๊อป |
8 MOTO |
จอมยุทธ์เรซซิ่ง |
หรือสอบถามโดยตรงที่
Facebook : SBS Brakes by YSS
โทร 02-7063700 หรือตามร้าน Service Bigbike ทั่วไป มีรองรับรับรถตั้งเเต่ 300 ซีซี ขึ้นไปครับผม.